
ยุคที่ 1 ( พ.ศ. 2477 – 2483 ) และยุคที่ 2 ( พ.ศ. 2491 – 2497 ) “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือนเป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้
ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด
ในยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 2 ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2493 – 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 ( พ.ศ. 2507 – 2515 ) “ นางสาวไทย ”
จากการที่งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไปนั้น ทำให้การประกวดนางสาวไทยไม่ได้จัดขึ้นด้วย เช่นกัน ถึงแม้จะไม่มีการประกวดนางสาวไทยในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะมีการจัดในระดับท้องถิ่น หรือการประกวดเนื่องในโอกาสหรือวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี ที่สนามมวยลุมพินี, การประกวดนางสาวไทย โทรทัศน์ช่อง 4, การประกวดนางงามตุ๊กตาทองในงานประกวดภาพยนตร์ตุ๊กตาทอง, การประกวดสาวงามองค์กฐินชิงถ้วย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น
ต่อมาในปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยาน-สราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของ
การเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
การประกวดนางสาวไทยครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 โดยรัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ใช้ชื่อในการประกวดครั้งนั้นว่า “ นางสาวสยาม ”
การประกวดนางสาวไทยเสมือนเป็นกิจกรรมที่สืบทอดเจตนารมณ์ของรัฐบาลมาโดยตลอดทั้งนี้นับตั้งแต่ยุคที่ 1 และยุคที่ 2 เป็นกิจกรรมของทางราชการโดยหน่วยงานราชการผู้จัดและรับผิดชอบ คือกองการต่างประเทศกระทรวงมหาดไทย การจัดการประกวดนางสาวไทยในสมัยนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การประกวดเป็นสื่อด้านความบันเทิง ดึงดูดความสนใจให้
ประชาชนมาเที่ยวงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ อันเป็นงานเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
ต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีนโยบายต้องการส่งเสริมฐานะสตรีให้เท่าเทียมอารยประเทศและมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม รัฐบาลในสมัยนั้นจึงใช้เวทีการประกวดนางสาวไทยเป็นสื่อในการสนับสนุนนโยบายรัฐนิยมของรัฐบาล โดยเฉพาะวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรีโดยมีการเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดในยุคแรก ดังนี้
พ.ศ. 2477 ผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า พ.ศ. 2482 ผู้เข้าประกวดแต่งกายชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า พ.ศ. 2483 ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลัง พ.ศ. 2493 ผู้เข้าประกวดสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวด
ในยุคที่ 1 ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น “ นางสาวสยาม ” จำนวน 5 คน และ “ นางสาวไทย ” จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า “ สยาม ” ให้ใช้คำว่า “ ไทย ” แทน ดังนั้นการประกวด “ นางสาวสยาม ” จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด “ นางสาวไทย ” นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482
การจัดการประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 2 ได้ดำเนินการต่อเนื่องจากปี พ.ศ. 2493 – 2497 เป็นปีสุดท้ายที่ รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากการประกวดนางสาวไทยได้ถูกยกเลิกการจัดไปพร้อมกับงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ
ยุคที่ 3 ( พ.ศ. 2507 – 2515 ) “ นางสาวไทย ”
จากการที่งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไปนั้น ทำให้การประกวดนางสาวไทยไม่ได้จัดขึ้นด้วย เช่นกัน ถึงแม้จะไม่มีการประกวดนางสาวไทยในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะมีการจัดในระดับท้องถิ่น หรือการประกวดเนื่องในโอกาสหรือวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี ที่สนามมวยลุมพินี, การประกวดนางสาวไทย โทรทัศน์ช่อง 4, การประกวดนางงามตุ๊กตาทองในงานประกวดภาพยนตร์ตุ๊กตาทอง, การประกวดสาวงามองค์กฐินชิงถ้วย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น
ต่อมาในปี 2504 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด “ นางงามวชิราวุธ ” ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยาน-สราญรมย์
จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของการจัดประกวดนางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่ประเทศ และใช้รูปแบบของ
การเข้าร่วมประกวดนางงามระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด “ นางสาวไทย ”
การประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 3 ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการประชาสัมพันธ์ชื่อเสียงประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นางสาวไทยเป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และสร้างภาพพจน์ให้ชาวโลกรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น