วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

กล้วยไม้


การที่มีชาวตะวันตกนำกล้วยไม้จากแหล่งอื่นมาปลูกในกรุงเทพฯ จึงเป็นจุดเด่นซึ่งทำให้หลายคนนำเอามาใช้เป็นข้อมูลเพื่อเริ่มต้นการปลูกกล้วยไม้ภายในประเทศ โดยอ้างชื่อ นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ (Mr.Henry Alabaster) ร่วมกับกลุ่มบุคคลในราชวงศ์ระดับสูง ดังจะพบได้จากข้อเขียนในอดีต แทนที่จะลงถึงชาวบ้านซึ่งเป็นคนระดับพื้นดินที่นำเอากล้วยไม้พันธุ์ท้องถิ่นมาปลูก...ดังเช่นผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้เรื่องกล้วยไม้ที่มีอายุยาวนานพอสมควร คงจะจำได้ว่า ย้อนหลังไปประมาณ 40 ปีขณะที่ตลาดนัดต้นไม้ยังอยู่บริเวณริมคลองหลอด มีชาวบ้านเก็บกล้วยไม้บางชนิดจากป่านำมามัดกำวางขายทั่วไปและมีคนจีนมาซื้อไปต้มทำยาดื่ม ที่พบเห็นมากๆ ได้แก่ กล้วยไม้หวายพื้นบ้านเช่น เอื้องเก๊ากิ่ว เอื้องเงิน เอื้องผึ้ง และเอื้องคำเป็นต้น ช่วงหลังๆป่าเริ่มหมดไป ทำให้กล้วยไม้พวกนี้หมดตามไปด้วย แต่ปัจจุบันนี้คนจีนบนแผ่นดินใหญ่ของประเทศจีน ยังมีการลำเลียงกล้วยไม้จากธรรมชาติในประเทศเวียดนามและบริเวณใกล้เคียงโดยรถบรรทุก นำเข้าไปในประเทศ เพื่อใช้ทำยาอย่างต่อเนื่องกัน
ศาสตราจารย์ระพี สาคริกเคยรับฟังรายงานการค้นคว้าจากที่ประชุมวิชาการในต่างประเทศ ทราบว่าฝรั่งได้มีผลงานการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพืชสมุนไพรจากกล้วยไม้ จากที่ประชุมวิชาการที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
หลังจากนั้นมา กล้วยไม้ก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อยกย่องคนมีเงินและชนชั้นสูง ประกอบกับรากฐานคนส่วนใหญ่ยึดติดอยู่กับรูปวัตถุ ทำให้มีการมองคนในกลุ่มที่นำกล้วยไม้มาปลูกแล้วรู้สึกว่า เป็นการทำลายเศรษฐกิจ
[แก้] ปัญหาการปลูกกล้วยไม้
ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแฝงเป็นเงื่อนไขอยู่ในพื้นฐานสังคมลักษณะนี้คือ ทุกเรื่องที่ได้รับผลดีจากการพัฒนามีเหตุมีผลผูกพันอยู่กับตัวบุคคล ทำให้ขาดการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังซึ่งควรเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล แต่จะมีผู้ตามเป็นส่วนใหญ่
ผลกระทบจากปัญหาที่ได้กล่าวไว้แล้วมีผลทำให้ ศ.ระพี สาคริกเกิดแรงดลใจลุกขึ้นมาพัฒนา ค้นคว้า วิจัย เรื่องกล้วยไม้ที่เชื่อมโยงถึงงานส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ ซึ่งในที่สุดได้ทำให้เกิดสภาพที่กล่าวกันว่า ผสมผสานกันเป็นธรรมชาติ ได้เริ่มตันมีการวางแผนและดำเนินการโดยมีเป้าหมายอย่างเด่นชัด หลังจากปี พ.ศ. 2490 ซึ่งศอ.ระพี สาคริกในตอนนั้นได้ผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกมาแล้ว
[แก้] กล้วยไม้ในวรรณกรรม
กล้วยไม้ปรากฏใน นิราศธารทองแดง (พระนิพนธ์ โดย เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
กล้วยไม้ห้อยต่ำเตี้ย
นมตำเลียเรี่ยทางไป
หอมหวังวังเวงใจ
ว่ากลิ่นแก้วแล้วเรียมเหลียว
[แก้] สกุลกล้วยไม้
ในประเทศไทย นอกจากกล้วยไม้ชนิดพันธุ์ตามที่พบในธรรมชาติอย่างมากมายแล้ว ยังมีพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ มีความแปลก สวยงามเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ใหม่นี้ จะมีจำนวนมาก และไม่มีขีดจำกัด ทำให้กล้วยไม้ของไทยเป็นที่รู้จัก เป็นที่สนใจ และชื่นชอบต่อคนทั่วไป
กล้วยไม้สกุลต่างๆ ที่พบในประเทศไทยได้แก่
สกุลอะแคมเป (Acampe)[1]
สกุลกุหลาบ (Aerides)
สกุลแมลงปอ (Arachnis)[1]
สกุลเข็ม (Ascocentrum)
สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum)
สกุลเอื้องน้ำต้นหรือคาแลนเธ (Calanthe)
สกุลคัทลียา (Cattleya & allied genera) ประกอบด้วยสกุลย่อย 8 สกุลคือ
บราสซาโวลา (Brassavola)
บรอว์กโทเนีย (Broughtonia)
คัทลียา (Cattleya)
ไดอาคริอัม (Diacrium)
อีปิเดนดรัม (Epidendrum)
ลีเลีย (Laelia)
ซอมเบอร์เกีย (Schomburgkia)
โซโพรนิติส (Sophronitis)
สกุลเอื้องใบหมากหรือซีโลจิเน (Coelogyne)
สกุลกะเรกะร่อนหรือซิมบิเดียม (Cymbidlium)
สกุลหวาย (Dendrobium)
สกุลม้าวิ่ง (Doritis)
สกุลเพชรหึงหรือแกรมมาโตฟิลลัม (Grammatophyllum)
สกุลลิ้นมังกรหรือฮาบีนาเรีย (Habenaria)
สกุลออนซิเดียม (Oncidium)[1]
สกุลนางอั้ว (Pecteilis)
สกุลรองเท้านารี (Paphiopedilum)
สกุลเขากวางอ่อนหรือฟาเลนอปซิส (Phalaenopsis)
สกุลหวายแดงหรือรีแนนเธอร่า (Renanthera)
สกุลช้าง (Rhynchostylis)
สกุลพิศมรหรือสแปทโธกลอตติส (Spathoglottis)
สกุลเสือโคร่ง (Trichoglottis)
สกุลฟ้ามุ่ยหรือแวนดา (Vanda)
สกุลพระยาฉัททันต์หรือแวนดอปซิส (Vandopsis

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น